Thursday, September 5, 2019

ประวัติคอมพิวเตอร์ โดย ด.ช มิ่งประชา มดแสง ม.3/6 เลขที่36

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

             คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจยากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว



            จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ
หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์
           หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค
            

ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2489-2501) "ยุคหลอดสุญญากาศ"

             เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี 


             จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญ ญากาศ

            ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
    • ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
    • ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
    • เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน          

 ยุคที่ 2 (พ.ศ.2502-2506) "ยุคทรานซิสเตอร์"
            มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง



         ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
  • ใช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
  • เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
  • มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)
  • สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
  • เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
            

ยุคที่ 3 (พ.ศ.2507-2512) "ยุควงจรรวม"

        คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก 
          นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)


        ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
  • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
  • ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
  • ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
           
 ยุคที่ 4 (พ.ศ.2513-2532) "ยุควีแอลเอสไอ"
        เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้

        ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
  • ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
  • มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)

ยุคที่ 5 (พ.ศ.2533-ปัจจุบัน) "ยุคเครือข่าย"
  ในยุคนี้ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจนมีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก(Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
   โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล

        องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย หัวข้อ ได้แก่
        1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarmystem)
                หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
        2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) 
           การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น
        3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) 
               การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น
        4. ระบบผการพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น 
อ้างอิงบทความ

ด.ช.มิ่งประชา มดแสง ม.3/6 เลขที่36

ประวัติส่วนตัว
 ชื่อ ด.ช มิ่งประชา มดแสง ชื่อเล่น เอเธนส์ 
เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนา พุทธ
เกิดวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2547
ที่อยู่ปัจจุบัน 199/94 หมู่ 5 ซ.จตุมิตร ถ.เทพารักษ์ ต.บางพลีใหญ่
อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
ศึกษาที่โรงเรียนพูลเจริญวิทยาคม 
ลักษณะนิสัย พูดมากนิดหน่อย ขี้บ่น ใจดี เป็นผู้นำที่ดี
เบอร์โทร 0615907395
คติประจำใจ ตื่นก่อนรวยก่อน

ความหมายของคอมพิมเตอร์ โดย ด.ญ ธนัชชา เเก้วคง ม.3/6 เลขที่30

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือน

คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล
อ้างอิงบทความ

ความหมายของคอมพิวเตอร์ โดยด.ญ.ปิยรัตน์ โนนกอง ม.3/6 เลขที่35


Wednesday, September 4, 2019


🌏เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต🌏 



      เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต

  5 เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับความคิดที่อยู่ในจินตนาการจะสามารถผลิตออกมาใช้งานได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอยู่ตลอดเวลาโดยนักวิทยาศาสตร์จากทั่วทุกมุมโลกจนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถพลิกรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมได้และในอนาคตอันใกล้เราอาจจะได้เห็น 5 เทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ทั่วโลกแน่นอน
  1. MacBook 2020

เผยแรงบันดาลใจกับสุดยอดเทคโนโลยีสุดล้ำแห่งอนาคตเป็นที่ทราบกันดีกว่า MacBook นั้นเป็น Laptop ในฝันของหลายๆ คนและแม้แต่แบรนด์ดังยี่ห้อต่างๆนั้นต่างเดินตามรอยทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ MacBook ถูกยกระดับให้เป็นสินค้าระดับบน ราคาแพง มีการออกแบบที่ละเอียดปราณีตลงตัวผลิตด้วยวัสดุคุณภาพสูงอีกทั้งยังทำงานบนระบบปฏิบัติการยอดนิยมทางฟากของ Mac อย่าง OS X อีกด้วย MacBook จากค่าย Apple ในวันนี้จะมีประสิทธิภาพสูงอยู่แล้วแต่การพัฒนาย่อมต้องดำเนินต่อไปและนี่ก็เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้ดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียนคุณ Tommaso Gecchelin ได้ออกแบบแมคบุ๊คในปี 2020 ออกมาให้เราได้ดูกันโดยเผยถึงความล้ำสมัยและความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ โดย MacBook 2020 จะมีรูปแบบดีไซนใหม่หมดจดทำงานได้แบบ 3D Hologram ถ้าพูดอย่างเดียวคงไม่เห็นภาพงั้นไปดูภาพกราฟฟิกที่ถูกออกแบบไว้กันเลยดีว่าจะสวยถูกใจขนาดไหนสำหรับท่านที่ชื่นชอบหรือเป็นสาวก MacBook ไม่ควรพลาด!!!


  2. คอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคตคอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคต Sony Nextep

คอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคตคอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคต Sony Nextep คอมพิวเตอร์แห่งปี 2020 คอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคต Sony Nextep คอมพิวเตอร์แห่งปี 2020 คอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคต ปี2020 สำหรับคอไอทีทั้งหลายเมื่อ Sony ได้คิดค้นคอมพิวเตอร์แห่งอนาคต Sony Nextep Computer มีลักษณะเป็นคอมพิวเตอร์ข้อมือมีคอมพิวเตอร์เป็นโครงสร้างที่ยืดหยุ่นด้วยหน้าจอ OLED Touchscreen มีเทคโนโลยี Holographic Projector,Pull-Out Extra Keyboard และที่สำคัญมันจะอยู่บนข้อมือของคุณด้วยโดยไม่ต้องแบกโน๊ตบุ๊คให้เมื่อยกันอีกแล้ว

 3. อาคารมีชีวิตแห่งอนาคต

ระบบต่าง ๆ ภายในอาคารจะทำงานเชื่อมโยงประสานกันแบบ"รวมศูนย์"เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการสำนักงาน อพาร์ตเมนต์ บ้าน คลังสินค้าและโรงงานทุกประเภทจะทำงานได้ราวกับเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถรับรู้และตอบสนองมนุษย์ได้อย่างรวดเร็วทั้งนี้เพื่อปกป้องผู้คนที่พักอาศัยหรือทำงานภายในอาคารให้มีความปลอดภัยอีกทั้งยังช่วยประหยัดทรัพยากรและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วยอาคารเก่าจะได้รับการบูรณะปรับปรุงส่วนอาคารสมัยใหม่จะได้รับการพัฒนาด้วยระบบประหยัดพลังงานที่เชื่อมโยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆทำงานเชื่อมโยงร่วมกันได้อย่างชาญฉลาดทุกสิ่งภายในอาคารตั้งแต่เรื่องอุณหภูมิไฟฟ้าการระบายอากาศไปจนถึงการจัดการระบบน้ำการจัดการขยะ ระบบโทรคมนาคมและระบบรักษาความปลอดภัยจะมีการผนวกรวมเข้าด้วยกันเพื่อการบริหารจัดการและควบคุมที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น"ระบบอัจฉริยะ"ภายในอาคารจะช่วยเตือนให้การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำได้ก่อนที่จะเกิดการชำรุดเสียหายและยังช่วยให้หน่วยฉุกเฉินสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างฉับไวอีกทั้งเจ้าของและผู้ใช้งานภายในอาคารยังสามารถตรวจสอบระดับการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนของอาคารได้ในแบบเรียลไทม์"เซ็นเซอร์"หลายพันตัวภายในอาคารจะควบคุมตรวจสอบทุกสิ่งภายในอาคารตั้งแต่ความเคลื่อนไหวและอุณหภูมิไปจนถึงความชื้นการเข้าใช้พื้นที่และแสงสว่างอาคารต่างๆไม่ได้เพียงอยู่ร่วมและทำงานเกี่ยวโยงกับธรรมชาติแต่จะใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างเหมาะสมอีกด้วย

 4.อินเทอร์เน็ตเพื่อสุขภาพ

ในแต่ละปีมีประชากรราว 60 ล้านคนย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ และในปี 52 มีการประเมินพบว่าประชากรส่วนใหญ่ของโลกอาศัยอยู่ในเขตเมืองมากกว่าชนบทส่งผลให้เมืองใหญ่กลายเป็นแหล่งเพาะและแพร่กระจายเชื้อโรคได้ง่ายฉะนั้นจะต้องมีระบบป้องกันและการสื่อสารด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับชาวเมืองไอบีเอ็มคาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้นี้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จะมีบทบาทในด้านสาธารณสุขมากยิ่งขึ้นในการหาแนวโน้มรูปแบบการระบาดของโรคว่าจะเกิดการระบาดขึ้นบริเวณไหนเวลาใดบ้างซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและเตรียมการรับมือเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด และการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีรวมทั้งมี"อินเทอร์เน็ตเพื่อสุขภาพ"ที่จะเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงข้อมูลทางการแพทย์ระหว่างชุมชน โรงพยาบาลหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเวชภัณฑ์ได้อย่างทั่วถึงเกิดเป็นระบบสาธารณสุขที่ฉลาดและมีประสิทธิภาพสามารถคาดการณ์รูปแบบการระบาดของโรคศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยและแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดซ้ำในอนาคต


5.ตู้เย็นแห่งอนาคต

หลายคนเป็นโรคขี้ลืมเวลาซื้ออาหารมาแช่ตู้เย็นไว้หลายๆอย่างแล้วลืมเอาออกมากินเอาออกมาปรุง จนหลายอย่างมารู้ตัวอีกทีหมดอายุหรือเน่าคาตู้ไปแล้วจะไม่เกิดขึ้นในโลกอนาคตที่มีการพัฒนา'ตู้เย็นอัจฉริยะ' ที่คอยแนะนำว่าควรจะทำเมนูไหนทำอะไรกินจากอาหารที่เหลือตกค้างอยู่ในตู้หรือถ้าอาหารเน่าเสียมากก็ทำความสะอาดตัวเองและทำลายอาหารทิ้งตู้เย็นโลกอนาคตเป็นผลงานออกแบบของนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนทรัล แลงคาสเชอร์ในอังกฤษร่วมกับซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ โอคาโดพื้นผิวของ
หิ้งวางของในตู้เย็นจะใช้เทคโนโลยีนาโนมีเครื่องตรวจจับแก๊สที่ปล่อยออกมาจากอาหารที่เริ่มเสียพร้อมทั้งระบบสแกนด้วยรังสีอัลตราซาวด์ที่ประตูเพื่อตรวจสอบว่าอาหารที่เหลือเป็นชนิดไหนและปริมาณเท่าไรที่ต้องทำลายเครื่องจะคอยสแกนว่าเหลืออาหารอะไรอยู่บ้างแล้วใช้ข้อมูลส่วนนี้วางแผนว่าทำอาหารอะไรได้บ้างหรือถ้าขาดเหลืออะไรก็แนะนำว่าต้องสั่งซื้ออะไรเพิ่มซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปในเว็บไซต์สั่งซื้อของจากโอคาโดได้ทันทีจากนั้นถาดของตู้จะเลื่อนอาหารที่ใกล้หมดอายุมาไว้ใกล้มือที่ด้านหน้าเพื่อให้หยิบไปปรุงได้สะดวกดร.ไซมอน ซอมเมอร์วิลล์ทีมวิจัยกล่าวว่าตู้เย็นนี้จะช่วยคิดว่าควรจะทำอะไรกินจากอาหารที่มีอยู่ในตู้ทำให้ใช้วัตถุดิบที่มีได้อย่างคุ้มค่าเหลืออาหารทิ้งน้อยลงทำให้ผู้ใช้งานไม่สิ้นเปลืองเงิน

 

No comments:


Post a Comment



Wednesday, September 4, 2019

🌏เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต🌏 ✨ด.ญ. สิริยากร สอนอรุณ✨ 🎏เลขที่ 46🎏

      เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต

  5 เทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับความคิดที่อยู่ในจินตนาการจะสามารถผลิตออกมาใช้งานได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอยู่ตลอดเวลาโดยนักวิทยาศาสตร์จากทั่วทุกมุมโลกจนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถพลิกรูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมได้และในอนาคตอันใกล้เราอาจจะได้เห็น 5 เทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ทั่วโลกแน่นอน
  1. MacBook 2020

เผยแรงบันดาลใจกับสุดยอดเทคโนโลยีสุดล้ำแห่งอนาคตเป็นที่ทราบกันดีกว่า MacBook นั้นเป็น Laptop ในฝันของหลายๆ คนและแม้แต่แบรนด์ดังยี่ห้อต่างๆนั้นต่างเดินตามรอยทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ MacBook ถูกยกระดับให้เป็นสินค้าระดับบน ราคาแพง มีการออกแบบที่ละเอียดปราณีตลงตัวผลิตด้วยวัสดุคุณภาพสูงอีกทั้งยังทำงานบนระบบปฏิบัติการยอดนิยมทางฟากของ Mac อย่าง OS X อีกด้วย MacBook จากค่าย Apple ในวันนี้จะมีประสิทธิภาพสูงอยู่แล้วแต่การพัฒนาย่อมต้องดำเนินต่อไปและนี่ก็เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจให้ดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียนคุณ Tommaso Gecchelin ได้ออกแบบแมคบุ๊คในปี 2020 ออกมาให้เราได้ดูกันโดยเผยถึงความล้ำสมัยและความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ โดย MacBook 2020 จะมีรูปแบบดีไซนใหม่หมดจดทำงานได้แบบ 3D Hologram ถ้าพูดอย่างเดียวคงไม่เห็นภาพงั้นไปดูภาพกราฟฟิกที่ถูกออกแบบไว้กันเลยดีว่าจะสวยถูกใจขนาดไหนสำหรับท่านที่ชื่นชอบหรือเป็นสาวก MacBook ไม่ควรพลาด!!!


  2. คอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคตคอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคต Sony Nextep

คอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคตคอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคต Sony Nextep คอมพิวเตอร์แห่งปี 2020 คอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคต Sony Nextep คอมพิวเตอร์แห่งปี 2020 คอมพิวเตอร์ข้อมือแห่งอนาคต ปี2020 สำหรับคอไอทีทั้งหลายเมื่อ Sony ได้คิดค้นคอมพิวเตอร์แห่งอนาคต Sony Nextep Computer มีลักษณะเป็นคอมพิวเตอร์ข้อมือมีคอมพิวเตอร์เป็นโครงสร้างที่ยืดหยุ่นด้วยหน้าจอ OLED Touchscreen มีเทคโนโลยี Holographic Projector,Pull-Out Extra Keyboard และที่สำคัญมันจะอยู่บนข้อมือของคุณด้วยโดยไม่ต้องแบกโน๊ตบุ๊คให้เมื่อยกันอีกแล้ว

 3. อาคารมีชีวิตแห่งอนาคต

ระบบต่าง ๆ ภายในอาคารจะทำงานเชื่อมโยงประสานกันแบบ"รวมศูนย์"เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการสำนักงาน อพาร์ตเมนต์ บ้าน คลังสินค้าและโรงงานทุกประเภทจะทำงานได้ราวกับเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถรับรู้และตอบสนองมนุษย์ได้อย่างรวดเร็วทั้งนี้เพื่อปกป้องผู้คนที่พักอาศัยหรือทำงานภายในอาคารให้มีความปลอดภัยอีกทั้งยังช่วยประหยัดทรัพยากรและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วยอาคารเก่าจะได้รับการบูรณะปรับปรุงส่วนอาคารสมัยใหม่จะได้รับการพัฒนาด้วยระบบประหยัดพลังงานที่เชื่อมโยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆทำงานเชื่อมโยงร่วมกันได้อย่างชาญฉลาดทุกสิ่งภายในอาคารตั้งแต่เรื่องอุณหภูมิไฟฟ้าการระบายอากาศไปจนถึงการจัดการระบบน้ำการจัดการขยะ ระบบโทรคมนาคมและระบบรักษาความปลอดภัยจะมีการผนวกรวมเข้าด้วยกันเพื่อการบริหารจัดการและควบคุมที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น"ระบบอัจฉริยะ"ภายในอาคารจะช่วยเตือนให้การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำได้ก่อนที่จะเกิดการชำรุดเสียหายและยังช่วยให้หน่วยฉุกเฉินสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างฉับไวอีกทั้งเจ้าของและผู้ใช้งานภายในอาคารยังสามารถตรวจสอบระดับการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนของอาคารได้ในแบบเรียลไทม์"เซ็นเซอร์"หลายพันตัวภายในอาคารจะควบคุมตรวจสอบทุกสิ่งภายในอาคารตั้งแต่ความเคลื่อนไหวและอุณหภูมิไปจนถึงความชื้นการเข้าใช้พื้นที่และแสงสว่างอาคารต่างๆไม่ได้เพียงอยู่ร่วมและทำงานเกี่ยวโยงกับธรรมชาติแต่จะใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างเหมาะสมอีกด้วย

 4.อินเทอร์เน็ตเพื่อสุขภาพ

ในแต่ละปีมีประชากรราว 60 ล้านคนย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ และในปี 52 มีการประเมินพบว่าประชากรส่วนใหญ่ของโลกอาศัยอยู่ในเขตเมืองมากกว่าชนบทส่งผลให้เมืองใหญ่กลายเป็นแหล่งเพาะและแพร่กระจายเชื้อโรคได้ง่ายฉะนั้นจะต้องมีระบบป้องกันและการสื่อสารด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับชาวเมืองไอบีเอ็มคาดการณ์ว่าในอนาคตอันใกล้นี้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จะมีบทบาทในด้านสาธารณสุขมากยิ่งขึ้นในการหาแนวโน้มรูปแบบการระบาดของโรคว่าจะเกิดการระบาดขึ้นบริเวณไหนเวลาใดบ้างซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและเตรียมการรับมือเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด และการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีรวมทั้งมี"อินเทอร์เน็ตเพื่อสุขภาพ"ที่จะเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงข้อมูลทางการแพทย์ระหว่างชุมชน โรงพยาบาลหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเวชภัณฑ์ได้อย่างทั่วถึงเกิดเป็นระบบสาธารณสุขที่ฉลาดและมีประสิทธิภาพสามารถคาดการณ์รูปแบบการระบาดของโรคศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วยและแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดซ้ำในอนาคต


5.ตู้เย็นแห่งอนาคต

หลายคนเป็นโรคขี้ลืมเวลาซื้ออาหารมาแช่ตู้เย็นไว้หลายๆอย่างแล้วลืมเอาออกมากินเอาออกมาปรุง จนหลายอย่างมารู้ตัวอีกทีหมดอายุหรือเน่าคาตู้ไปแล้วจะไม่เกิดขึ้นในโลกอนาคตที่มีการพัฒนา'ตู้เย็นอัจฉริยะ' ที่คอยแนะนำว่าควรจะทำเมนูไหนทำอะไรกินจากอาหารที่เหลือตกค้างอยู่ในตู้หรือถ้าอาหารเน่าเสียมากก็ทำความสะอาดตัวเองและทำลายอาหารทิ้งตู้เย็นโลกอนาคตเป็นผลงานออกแบบของนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนทรัล แลงคาสเชอร์ในอังกฤษร่วมกับซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ โอคาโดพื้นผิวของ
หิ้งวางของในตู้เย็นจะใช้เทคโนโลยีนาโนมีเครื่องตรวจจับแก๊สที่ปล่อยออกมาจากอาหารที่เริ่มเสียพร้อมทั้งระบบสแกนด้วยรังสีอัลตราซาวด์ที่ประตูเพื่อตรวจสอบว่าอาหารที่เหลือเป็นชนิดไหนและปริมาณเท่าไรที่ต้องทำลายเครื่องจะคอยสแกนว่าเหลืออาหารอะไรอยู่บ้างแล้วใช้ข้อมูลส่วนนี้วางแผนว่าทำอาหารอะไรได้บ้างหรือถ้าขาดเหลืออะไรก็แนะนำว่าต้องสั่งซื้ออะไรเพิ่มซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปในเว็บไซต์สั่งซื้อของจากโอคาโดได้ทันทีจากนั้นถาดของตู้จะเลื่อนอาหารที่ใกล้หมดอายุมาไว้ใกล้มือที่ด้านหน้าเพื่อให้หยิบไปปรุงได้สะดวกดร.ไซมอน ซอมเมอร์วิลล์ทีมวิจัยกล่าวว่าตู้เย็นนี้จะช่วยคิดว่าควรจะทำอะไรกินจากอาหารที่มีอยู่ในตู้ทำให้ใช้วัตถุดิบที่มีได้อย่างคุ้มค่าเหลืออาหารทิ้งน้อยลงทำให้ผู้ใช้งานไม่สิ้นเปลืองเงิน

 

Monday, September 2, 2019

🌈ประวัติส่วนตัว🌈 ด.ญ.สิริยากร สอนอรุณ เลขที่46

🌈ประวัติส่วนตัว🌈
ด.ญ. สิริยากร สอนอรุณ ชื่อเล่น อะตอม สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ กรุ๊ปเลือด เอบี
วันเดือนปีเกิด 01 พฤศจิกายน พ.ศ.2547 อายุ15ปี กำลังศึกษาอยู่ โรงเรียนพลูฃเจริญวิทยาคม อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 
ที่อยู่ 10/5 หมู่ที่1 ตำบลบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ  10540
ลักษณะนิสัย: เงียบ ชอบอยู่คนเดียว ไม่ชอบที่ๆวุ่นวายเเละที่ๆมีคนเยอะๆ ชอบที่เงียบๆ 
กีฬาที่ชอบ: ไม่มี
เบอร์โทร:062-445-0932
🆔: atom. 1101
E-mail: cityatom1101@gmaill.com
คติประจำใจ: ชาตินี้คงได้เเต่รักเขาข้างเดียว , ไม่มันก็เราที่จะต้องตาย

ประวัติส่วนตัว ด.ญ. สิริยากร สอนอรุณ เลขที่46


Saturday, August 31, 2019

💻เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร💻 💜ด.ญ. สุชานาถ ขุนทอง เลขที่ 47💜


                               
     💻เทคโนโลยีสสารสนเทศและการสื่อสาร💻
1.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร💿💿💿
      ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาบทยาทมาก เช่น มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูลหรือรับขนส่งข้อมูลระหว่างกัน ตลอดใช้โทรศัพท์เครื่องที่ (mobile phone) หรือโทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้งานในทุกระดับชั้นขององค์กร
       คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (lnformation Technolgy:IT) เรียกย่อว่า "ไอที" ประกอบด้วย คำว่า "เทคโนโลยี" และคำว่า "สารสนเทศ" นำมาร่วมกันเป็น "เทคโนโลยีสารสนเทศ" และคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and Communiceation Technlogy:ICT) หรือเรียกว่า "ไอซีที" ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้
       เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการและกระบวนการ
      สารสนเทศ (information) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำข้อมลูมาผ่านกระบวนการต่างๆอย่างมี
      เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามแผ่นแม่บท เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศ พ.ศ. 2545-2549 หมายถึง เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูล และการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือการประมวลผล
1.2 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
        ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทคและการสื่อสาร ระบบสารสนเทศประกอบด้วย
 1.2.1 ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด (keyboand) เมาส์ (mouse) จอภาพ (monitor) เป็นต้น รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น โมเด็ม (modem)และ สายสัญญาณ
1.2.2 ซอฟต์แวร์ (soflware) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง (instruction) ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ชุดคำสั่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 
      ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่ทำหน้าควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น
     1) ระบบปฎิบัติการ (Operating System: OS) เป็ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์ (Windowns) ลินุกซ์ (Linux) และ แมคโอเอส (Mac OS)
    2) โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Program) เป็นโประแกรมที่ช่วยเสริมการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือช่วยเสริมการทำงานอื่นๆให้มีความสามารถใช้วานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
    3) โปรแกรมขับอุปกรณ์ หรือดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์ (devicedriver) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อหรือใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
   4) โปรแกรมแปลภาษา เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นรหัสที่อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ ดังรูปที่ 1.9 ตัวอย่างตัวแปลภาษา เช่น ตัวแปลภาษาจาวา ตัวแปลภาษาซี
    ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์อาจเขียนขึ้นโดยใช้โปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น เบสิก (Basic) ปาสคาล (Pascal) โคบอล (Cobol) ซี (C) ซีพลัสพลัส (C++) และจาวา (Java) ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งตามกลุ่มการใช้งายได้ดังตารางที่ 1.1
1.2.3 ข้อมูล (data) ข้อมูลจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และสแกนเนอร์ (scanner) ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำ (memory unit) ก่อนที่จะถูกย้ายไปเก็บที่หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit) เช่น ฮาร์ดดิสก์ และแผ่นซีดี (Compact Disc: CD) 
1.2.4 บุคลากร  (people)บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ในที่นี้หมายถึงบุคลากรที่เป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ดังรูปที่ 1.11 บุคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ จะต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพให้สามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ใช้ง่ายและสะดวก ส่วนผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการใช้งานระบบสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องจึงจะเกิดสารสนเทศที่เป็นประโยชน์
 1.2.5 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure) ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูล ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อข้อมูลได้รับความเสียหาย หรือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ เกิดการชำรุดเสียหาย ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ควรได้รับการรวบรสมและจัดทำให้เป็นรูปเล่ม


1.3 ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
            1.3.1 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน 

             1.3.2 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มตั้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี สามารถค้นคว้าข้อมูลทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ (EMI scanner) ถูกนำมาถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง
1.3.3 ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เทตโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เฃ่น โรงงานสารเคมี โรงผลิตและการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ 

1.3.4 ด้านการเงินธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและการธนาคาร โดยใช้ช่วยด้านการบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ และเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์

             1.3.5 ด้านความมั่นคง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดาวเทียมและการคำนวณวิถีโคจรของจรวดไปสู่อวกาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบจัดทำทะเบียนปืน ทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ 

   
          1.3.6 ด้านการคมนาคม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟ มีการเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร การเช็คอินของสายการบิน ได้จัดทำเครื่องมือที่สะดวกต่อลูกค้า ในรูปแบบของการเช็คอินด้วยตนเอง 
        1.3.7 ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาววการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดิวไหว โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง

                 1.3.8 ด้านการพาณิชย์ องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กรหรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าทั่วไป สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร 

1.4 แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
           1.4.1 ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) ซึ่งเป็นเครื่องรับข้อความ มาเป็นถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่สารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่นๆได้ นอกจากการพูดคุยธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป ฟังเพลง ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ บันทึกข้อมูงสั้นๆ บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital Assistant : PDA) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังมีหน้าจอแบบสัมผัส ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น บางรุ่นมีอุปกรณ์สไตลัส (stylus) 


                1.4.2 ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครื่องข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมังเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงโดยจุดเดียว (stand alone) ต่อมามีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร เพื่อทำให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน จนเกิดเป็นระบบรับและให้บริการ หรือที่เรียกว่าระบบรับ-ให้บริการ (client-server system) โดยมีเครื่องให้บริการ (server) และเครื่องรับบริการ (client) การให้บริการบนเว็บก็นำหลักการของระบบรับ-ให้บริการมาใช้ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น สะดวก รวดเร็ว เพราะสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยมีเว็บเซอร์เวอร์ (web server) เป็นเครื่องให้บริการ

          1.4.3 ด้านเทคโนโลยี ระบบทำงานอัตโนมัติที่สามารถตัดสินใจได้เองจะเข้ามาแทนที่มากขึ้น เช่น ระบบแนวนำเส้นทางจราจร ระบบจอดรถ ระบบตรวจหาตำแหน่งของวัตถุ ระบบควบคุมความปลอดภัยภายในอาคาร ระบบที่ทำงานอัตโนมัติเช่นนี้ อาจกลายเป็นระบบหลักในการดำเนินการของหน่วยงานต่่างๆ โดยเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ มีการเชื่อมต่ออย่างกว้างขวางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
1.5 ความเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 
           ความก้าวหน้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อนสนองความต้องการด้านต่างๆ ของผู้ใช้ปัจจุบันซึ่งมีจำนวนผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสารทั่วโลกประมาณพันล้านคน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้ทุกที่ ทุกเวลา จึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆทั้งที่้เกิดประโยชน์และโทษ เช่น
              1. ด้านสังคม สภาพเสมือนจริง การใช้อินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่างๆ จนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือที่รู้จักกีนว่า ไซเบอรฺ์สเปช (cyber space) ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เช่นการพูด การชื้อสินค้า และบริการ การทำงานผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพที่เสมือนจริง (virtual) เช่น เกมส์เสมือนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง ซึ่งทำให้ลดเวลาในการเดินทางและสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
              2. ด้านเศรษกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้เกิดสังคมโลกาภิวัตน์(globalization) เพราะสามารถชมข่าว ชมรายการโทรทัศนที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที ใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ระบบเศรษกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ ก็กระจายเป็นเศรษญกิจโลก เกิดกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกจึงเชื่อมโยงและผูกพันกันมากขึ้น 


             3. ด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีประโยชน์ในด้านธรรมชาติและและสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศ ร่วมกับการจัดเก็บรักษาข้อมูลระดับน้ำทะเล ความสูงของคลื่นจากระบบเรดาร์ เป็นการศึกษาเพื่อหาสาเหตุ และนำข้อมูลมาวางแผนและสร้างระบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแต่ละแห่งได้อย่างเหมาะสม 
1.6 ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
              ตลาดแรงงานต้องการผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแท้จริง ซึ่งงานด้านนี้จะรวมถึง งานด้านการออกแบบโปรแกรมต่างๆ โปรแกรมใช้งานบนเว็บ งานด้านการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ งานด้านฐานข้อมูล งานด้านระบบเครือข่ายทั้งในและนอกองค์กร รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย ดังนั้นองค์กรจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ และพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อใช้งานด้านต่างๆขององค์กร ตัวอย่างอาชีพด้านเทคโลโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น
         1. นักเขียนโปรมแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (programmer)
ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรมแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า โปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร
          2. นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst)
ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้ว

3. ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (database administrator)
ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล (database) รวมถึงการออกแบบ บำรุงรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล เช่น การกำหนดบัญชีผู้ใช้ การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้

            4. ผู้ดูแลและบริหารระบบ(system administrator)
ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฎิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ความคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย



              5. ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย (network administrator)
ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย

               6. ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (webmaster)ทำหน้าที่ออกแบบพัฒนา ปรับปรุงและบำรุงรักษาเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

               7. เจ้าหน้าที่เทคนิค (technician)
ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในองค์กร
            8. นักเขียนเกม (game maker)
ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้การเขียนโปรมแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอาชีพได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย
บทความอ้างอิง http://www.thaigoodview.com/node/70790

ประวัติคอมพิวเตอร์ โดย ด.ช มิ่งประชา มดแสง ม.3/6 เลขที่36

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์              คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจยากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซ...