Saturday, August 31, 2019

💻เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร💻 💜ด.ญ. สุชานาถ ขุนทอง เลขที่ 47💜


                               
     💻เทคโนโลยีสสารสนเทศและการสื่อสาร💻
1.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร💿💿💿
      ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาบทยาทมาก เช่น มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อสืบค้นข้อมูลหรือรับขนส่งข้อมูลระหว่างกัน ตลอดใช้โทรศัพท์เครื่องที่ (mobile phone) หรือโทรศัพท์มือถือในการติดต่อสื่อสารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้งานในทุกระดับชั้นขององค์กร
       คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (lnformation Technolgy:IT) เรียกย่อว่า "ไอที" ประกอบด้วย คำว่า "เทคโนโลยี" และคำว่า "สารสนเทศ" นำมาร่วมกันเป็น "เทคโนโลยีสารสนเทศ" และคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and Communiceation Technlogy:ICT) หรือเรียกว่า "ไอซีที" ประกอบด้วยคำที่มีความหมายดังนี้
       เทคโนโลยี (Technology) หมายถึง การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ วิธีการและกระบวนการ
      สารสนเทศ (information) หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดจากการนำข้อมลูมาผ่านกระบวนการต่างๆอย่างมี
      เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างหรือจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามแผ่นแม่บท เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประเทศ พ.ศ. 2545-2549 หมายถึง เทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูล และการสื่อสารนับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือการประมวลผล
1.2 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
        ระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทคและการสื่อสาร ระบบสารสนเทศประกอบด้วย
 1.2.1 ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด (keyboand) เมาส์ (mouse) จอภาพ (monitor) เป็นต้น รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น โมเด็ม (modem)และ สายสัญญาณ
1.2.2 ซอฟต์แวร์ (soflware) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง (instruction) ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ชุดคำสั่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ 
      ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่ทำหน้าควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น
     1) ระบบปฎิบัติการ (Operating System: OS) เป็ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ทั้งหมดภายในคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ เช่น วินโดวส์ (Windowns) ลินุกซ์ (Linux) และ แมคโอเอส (Mac OS)
    2) โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Program) เป็นโประแกรมที่ช่วยเสริมการทำงานของคอมพิวเตอร์ หรือช่วยเสริมการทำงานอื่นๆให้มีความสามารถใช้วานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
    3) โปรแกรมขับอุปกรณ์ หรือดีไวซ์ไดร์ฟเวอร์ (devicedriver) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการติดตั้งระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อหรือใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
   4) โปรแกรมแปลภาษา เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่แปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นรหัสที่อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ ดังรูปที่ 1.9 ตัวอย่างตัวแปลภาษา เช่น ตัวแปลภาษาจาวา ตัวแปลภาษาซี
    ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างซอฟต์แวร์ประยุกต์อาจเขียนขึ้นโดยใช้โปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น เบสิก (Basic) ปาสคาล (Pascal) โคบอล (Cobol) ซี (C) ซีพลัสพลัส (C++) และจาวา (Java) ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งตามกลุ่มการใช้งายได้ดังตารางที่ 1.1
1.2.3 ข้อมูล (data) ข้อมูลจะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และสแกนเนอร์ (scanner) ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำ (memory unit) ก่อนที่จะถูกย้ายไปเก็บที่หน่วยเก็บข้อมูล (storage unit) เช่น ฮาร์ดดิสก์ และแผ่นซีดี (Compact Disc: CD) 
1.2.4 บุคลากร  (people)บุคลากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ ในที่นี้หมายถึงบุคลากรที่เป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศ ดังรูปที่ 1.11 บุคลากรที่เป็นผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ จะต้องมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพให้สามารถทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้ใช้ง่ายและสะดวก ส่วนผู้ใช้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการใช้งานระบบสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องจึงจะเกิดสารสนเทศที่เป็นประโยชน์
 1.2.5 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (procedure) ระบบสารสนเทศต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูล ขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อข้อมูลได้รับความเสียหาย หรือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ เกิดการชำรุดเสียหาย ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ควรได้รับการรวบรสมและจัดทำให้เป็นรูปเล่ม


1.3 ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
            1.3.1 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน 

             1.3.2 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มตั้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี สามารถค้นคว้าข้อมูลทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ (EMI scanner) ถูกนำมาถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง
1.3.3 ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เทตโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เฃ่น โรงงานสารเคมี โรงผลิตและการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ 

1.3.4 ด้านการเงินธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและการธนาคาร โดยใช้ช่วยด้านการบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ และเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์

             1.3.5 ด้านความมั่นคง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดาวเทียมและการคำนวณวิถีโคจรของจรวดไปสู่อวกาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบจัดทำทะเบียนปืน ทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ 

   
          1.3.6 ด้านการคมนาคม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟ มีการเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร การเช็คอินของสายการบิน ได้จัดทำเครื่องมือที่สะดวกต่อลูกค้า ในรูปแบบของการเช็คอินด้วยตนเอง 
        1.3.7 ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาววการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดิวไหว โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง

                 1.3.8 ด้านการพาณิชย์ องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กรหรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าทั่วไป สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร 

1.4 แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
           1.4.1 ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) ซึ่งเป็นเครื่องรับข้อความ มาเป็นถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่สารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่นๆได้ นอกจากการพูดคุยธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป ฟังเพลง ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ บันทึกข้อมูงสั้นๆ บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital Assistant : PDA) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังมีหน้าจอแบบสัมผัส ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น บางรุ่นมีอุปกรณ์สไตลัส (stylus) 


                1.4.2 ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบเครื่องข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมังเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงโดยจุดเดียว (stand alone) ต่อมามีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร เพื่อทำให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน จนเกิดเป็นระบบรับและให้บริการ หรือที่เรียกว่าระบบรับ-ให้บริการ (client-server system) โดยมีเครื่องให้บริการ (server) และเครื่องรับบริการ (client) การให้บริการบนเว็บก็นำหลักการของระบบรับ-ให้บริการมาใช้ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น สะดวก รวดเร็ว เพราะสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยมีเว็บเซอร์เวอร์ (web server) เป็นเครื่องให้บริการ

          1.4.3 ด้านเทคโนโลยี ระบบทำงานอัตโนมัติที่สามารถตัดสินใจได้เองจะเข้ามาแทนที่มากขึ้น เช่น ระบบแนวนำเส้นทางจราจร ระบบจอดรถ ระบบตรวจหาตำแหน่งของวัตถุ ระบบควบคุมความปลอดภัยภายในอาคาร ระบบที่ทำงานอัตโนมัติเช่นนี้ อาจกลายเป็นระบบหลักในการดำเนินการของหน่วยงานต่่างๆ โดยเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ มีการเชื่อมต่ออย่างกว้างขวางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
1.5 ความเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 
           ความก้าวหน้าของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพื่อนสนองความต้องการด้านต่างๆ ของผู้ใช้ปัจจุบันซึ่งมีจำนวนผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสรเทศและการสื่อสารทั่วโลกประมาณพันล้านคน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ผู้ใช้สามารถใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้ทุกที่ ทุกเวลา จึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆทั้งที่้เกิดประโยชน์และโทษ เช่น
              1. ด้านสังคม สภาพเสมือนจริง การใช้อินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่างๆ จนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือที่รู้จักกีนว่า ไซเบอรฺ์สเปช (cyber space) ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เช่นการพูด การชื้อสินค้า และบริการ การทำงานผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพที่เสมือนจริง (virtual) เช่น เกมส์เสมือนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง ซึ่งทำให้ลดเวลาในการเดินทางและสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
              2. ด้านเศรษกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้เกิดสังคมโลกาภิวัตน์(globalization) เพราะสามารถชมข่าว ชมรายการโทรทัศนที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที ใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ระบบเศรษกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ ก็กระจายเป็นเศรษญกิจโลก เกิดกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกจึงเชื่อมโยงและผูกพันกันมากขึ้น 


             3. ด้านสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีประโยชน์ในด้านธรรมชาติและและสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศ ร่วมกับการจัดเก็บรักษาข้อมูลระดับน้ำทะเล ความสูงของคลื่นจากระบบเรดาร์ เป็นการศึกษาเพื่อหาสาเหตุ และนำข้อมูลมาวางแผนและสร้างระบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแต่ละแห่งได้อย่างเหมาะสม 
1.6 ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
              ตลาดแรงงานต้องการผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างแท้จริง ซึ่งงานด้านนี้จะรวมถึง งานด้านการออกแบบโปรแกรมต่างๆ โปรแกรมใช้งานบนเว็บ งานด้านการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ งานด้านฐานข้อมูล งานด้านระบบเครือข่ายทั้งในและนอกองค์กร รวมถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย ดังนั้นองค์กรจึงมีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ และพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อใช้งานด้านต่างๆขององค์กร ตัวอย่างอาชีพด้านเทคโลโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น
         1. นักเขียนโปรมแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (programmer)
ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรมแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า โปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร
          2. นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst)
ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้ว

3. ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล (database administrator)
ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล (database) รวมถึงการออกแบบ บำรุงรักษาข้อมูล และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล เช่น การกำหนดบัญชีผู้ใช้ การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้

            4. ผู้ดูแลและบริหารระบบ(system administrator)
ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฎิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ความคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย



              5. ผู้ดูแลและบริหารระบบเครือข่าย (network administrator)
ทำหน้าที่บริหารและจัดการออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กร เช่น ตรวจสอบการใช้งานเครือข่ายของพนักงานและติดตั้งโปรแกรมป้องกันผู้บุกรุกเครือข่าย

               6. ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (webmaster)ทำหน้าที่ออกแบบพัฒนา ปรับปรุงและบำรุงรักษาเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

               7. เจ้าหน้าที่เทคนิค (technician)
ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในองค์กร
            8. นักเขียนเกม (game maker)
ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้การเขียนโปรมแกรมคอมพิวเตอร์เป็นอาชีพได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย
บทความอ้างอิง http://www.thaigoodview.com/node/70790

ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการบิน ด.ช. ธันวา กองสมบูรณ์ เลขที่11

                   เทคโนโลยีสารสนเทศการบิน






เทคโนโลยีกำลังจะพลิกโฉมหน้าสนามบินทั่วโลกให้กลายเป็น สนามบินอัจฉริยะ

ระบบจดจำใบหน้าแบบ End-to-End และระบบจอแสดงข้อมูลเที่ยวบินแบบครบวงจรเตรียมพลิกโฉมอุตสาหกรรมการบิน แนวโน้มด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาสารสนเทศในการก่อสร้าง สนามบินอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยทำให้ลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมนี้สามารถสร้างสนามบินอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับผู้โดยสาร และส่งมอบวิธีการใหม่ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบดิจิทัลให้กับสนามบินทั่วโลก
ทุกอย่างเช็คได้จากใบหน้า
ระบบจดจำใบหน้าแบบ End-to-End ช่วยให้ผู้โดยสารได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น
ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ AI และการจดจำใบหน้า ผู้บริโภคจึงมีความต้องการการเดินทางด้วยระบบอัจฉริยะมากขึ้น สนามบินต่างๆจึงเผชิญกับความท้าทายอันยิ่งใหญ่เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วทางธุรกิจ การเดินทางทางอากาศจึงเป็นสิ่งที่แพร่หลายในวงกว้าง และมีความต้องการอันหลากหลายมากขึ้นในส่วนของผู้โดยสาร หัวเว่ยมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมนี้ จึงได้นำเสนอโซลูชั่นสนามบินอัจฉริยะแบบครบวงจรที่จะช่วยตอบสนองกับความต้องการต่างๆเซลูชั่น Smart VIP Lounge Solution มอบบริการคุณภาพสูงให้แก่กลุ่มผู้โดยสารที่เป็นเป้าหมายบนพื้นฐานของเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า ระบบกล้องวงจรปิดที่มีภาพคมชัดแบบ HD, ฐานข้อมูลภาพใบหน้า และอัลกอริทึมการจดจำใบหน้าของหัวเว่ย ผนวกกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ของซูเปอร์แมพ (SuperMap) ถูกนำมาใช้ในการระบุ หาตำแหน่ง และติดตามผู้โดยสารที่อยู่ในห้องบริการผู้โดยสารสนามบิน เทคโนโลยีนี้ทำให้สามารถส่งระบบเตือนให้ขึ้นเครื่องบินแก่ผู้โดยสารแต่ละราย ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารได้รับบริการในห้องบริการผู้โดยสารและประสบการณ์การเดินทางที่ดีที่สุด
ปฏิวัติระบบจอแสดงข้อมูลเที่ยวบิน
ขณะที่ระบบจอแสดงข้อมูลเที่ยวบิน (FIDS) แบบเดิมเป็นจอแสดงเที่ยวบินแบบหนึ่งต่อกลุ่มที่ได้รับการออกแบบเพื่อให้บริการผู้โดยสารทั้งหมดในเวลาพร้อมกัน ผู้โดยสารต้องหาข้อมูลเที่ยวบินของตนเองจากจำนวนเที่ยวบินมากมายที่ปรากฏขึ้นมา ซึ่งทำให้เสียเวลา ดังนั้น เพื่อจัดการกับขั้นตอนที่ใช้เวลามากมายเหล่านี้ หัวเว่ยจึงจัดระบบ FIDS แบบอัจฉริยะด้วยระบบการจดจำใบหน้า ผู้โดยสารเพียงแค่ให้จอภาพสแกนใบหน้าของตนเอง ระบบ FIDS อัจฉริยะก็จะระบุว่าผู้โดยสารคือใคร จากนั้น จอภาพก็จะแสดงข้อมูลเที่ยวบิน และตำแหน่งปัจจุบันของผู้โดยสาร รวมทั้งแจ้งเส้นทางที่เร็วที่สุดที่จะไปยังประตูขึ้นเครื่อง ระบบนี้จะทำให้ประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ผู้โดยสารของสนามบินดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การแสดงข้อมูลกิจกรรมสนับสนุนเที่ยวบินแบบครบถ้วนช่วยปรับปรุงการดำเนินงานของสนามบินให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ใช้บิ๊กดาต้าบริหารหลุมจอด
แพลตฟอร์มบิ๊ก ดาต้า ที่อยู่ในระบบคลาวด์ของหัวเว่ย และอัลกอริทึมระบบอัจฉริยะของไป่ตู้ถูกนำมาใช้สนับสนุนระบบจัดสรรหลุมจอดแบบอัตโนมัติและแบบอัจฉริยะ ทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานดีขึ้น และช่วยลดความขัดแย้งในการจัดสรรหลุมจอด โซลูชั่นนี้ยังช่วยทำให้การจัดสรรหลุมจอดให้แก่เที่ยวบินกว่า 1,000 เที่ยวเสร็จสมบูรณ์ได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ขณะที่วิธีการเดิมต้องใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง ด้วยการปรับปรุงข้อมูลการจัดสรรหลุมจอดแบบพลวัต สะพานเทียบเครื่องบิน และหลุมจอดระยะใกล้ที่มีอยู่จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่เพื่อช่วยให้ผู้โดยสารไม่มีปัญหาในการขึ้นรถชัตเติลบัสเพื่อไปยังหลุมจอดที่อยู่ไกล นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นแล้ว โซลูชั่นนี้ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการจัดการกับเหตุฉุกเฉินของสนามบิน เมื่อเกิดความล่าช้าของเที่ยวบินจำนวนมากจนทำให้ต้องมีการจัดสรรหลุมจอดเครื่องบินใหม่อย่างรวดเร็ว
ระบบไฟส่องสว่างของสนามบิน
โซลูชั่นระบบไฟส่องสว่างสนามบินแบบอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยี IoT ยังช่วยแก้ไขปัญหาไฟสนามบินแบบเดิมที่ไม่สามารถเฝ้าสังเกต และควบคุมแบบเรียลไทม์ได้ โซลูชั่นของหัวเว่ยนี้ช่วยลดต้นทุนการตรวจสอบด้วยมือได้กว่า 10,000 ชั่วโมงแรงงานต่อปี โซลูชั่นนี้ เมื่อใช้ร่วมกับ Advanced-Surface Movement Guidance and Control System (A-SMGCS) และระบบเฝ้าระวังไฟฟ้าแบบเดียวของสถาบันวิจัย Second Research Institute ของ CAAC จะช่วยเป็นแนวทางในการนำเครื่องบินโดยใช้ไฟส่องสว่างลานบินแบบที่มีการเฝ้าระวังด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของเครื่องบินบนรันเวย์ และแท็กซี่เวย์
อ้างอินบทความ


Thursday, August 29, 2019


✨ประเภทของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศโดย 
ด.ญ.ปุณณดา ธรรมปาละ ม.3/6 เลขที่37🌈


✨ประเภทของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ✨

ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทและความจาเป็นต่อการดาเนินชีวิตประจาวันของคนเราผ่านทางอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ มากขึ้นทำให้เราได้รับความสะดวกสบายในด้านต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง วิธีการต่าง ๆ และอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การเก็บรักษาข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล และการสื่อสารโทรนาคม 🌈✨

เราสามารถแบ่งอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการรวบรวมและบันทึกข้อมูล
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รวบรวมข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลภาพ ข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลตัวเลข ข้อ มูลเสียง เป็นต้น เช่น กล้องดิจิทัล กล้องวีดีโอ แฟลชไดรฟ์ เป็นต้น



2. อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการประมวลผล การแสดงผลและการทาสาเนาข้อมูล
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประมวลผลข้อมูลตามคาสั่งผู้ใช้ และแสดงผลลัพธ์ออกมา เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น


3. อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล สามารถให้ข้อมูลที่รวดเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์ เป็นต้น


อ้างอิง https://sites.google.com/site/wwwsasimacomcom/home/prapheth-khxng-xupkrn-thekhnoloyi-sarsnthes

ประเภท​ของคอมพิวเตอร์​ โดย​ ด.ญ​ ปุญญิศา​ สุราษฎร์​ ม.3/6​ เลขที่36

 คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดเครื่องความเร็วในการประมวลผล และราคาเป็นข้อพิจารณาหลัก ซึ่งโดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภทคอมพิวเตอร์เป็น 7ประเภทดังนี้ คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ( Supercomputer) คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainframe computer) มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computer) โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook computer) คอมพิวเตอร์พกพาขนาดฝ่ามือ (Hand-held Personal computer) คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded computer) ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงมีราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ และงานอื่นๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซอน ปัจจุบันมีการนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปใช้กับงานออกแบบชิ่นส่วนรถยนต์ งานวิเคราะห์สิงค้าคงคลัง หรือแม้แต่การออกแบบงานด้านศิลปะ หน่วยงานที่มีการใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ องค์การนาซา (NASA) และหน่วยงานธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น บริษัท General Motorsและ AT&T เป็นต้น
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) หรือ คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรมนิยมใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน (Multiple Users) เช่น งานธนาคาร การจองตั๋ว เครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษาเป็นต้น
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานด้านความเร็วและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลน้อยกว่าเมนเฟรม แต่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computer) และสามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงานที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นในการพัฒนาที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น บริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ตลาดหลักทรัพย์สถานศึกษา รวมทั้งการให้บริการข้อมูลแก้ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม เป็นต้น
4. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop C0mputer) หรือเดสก์ท็อปเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) ที่มีขนาดเล็กเหมาะกับโต๊ะทำงานในสำนักงาน สถานศึกษา และที่บ้าน รูปทรง ของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีทั้งแบบวางนอน และแบบแนวตั้งที่เรียกว่าทาวเวอร์ (Tower) เพื่อประหยัดเนื้อที่เป็นการวางทั้งบนโต๊ะและที่พื้น
การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะยังจำแนกได้ ดั้งนี้

· All-in Computer เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่รวมจอภาพและหน่วยประมวลผลอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน

· Workstation เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีความสามารถและราคาสูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั้วไปออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านการคำนวณและกราฟิก ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสถาปนิก วิศวกร และนักออกแบบภาพกราฟิก

· Stand-alone Computer หรือคอมพิวเตอร์ระบบเดียว เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานที่เรียกว่า IPOS cycle โดยที่ไม่ได้เชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มีความสามารถในการเชื่อมต่อข่ายได้

· Server Computer เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีความสามารถเช่นเดียวกันหรือใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ เช่น ข้อมูลโปรแกรมจัดสรรงานพิมพ์ เป็นต้น)

5. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (Notebook Computer) หรือบางครั้งเรียกว่า แลปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าเครื่องพีซีแบบตั้งโต๊ะน้ำหนักเบา จึงสามารถนำติดตัวไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ เครื่องโน้ตบุ๊คมีสมรรถนะในการทำงานเทียบเท่าเครื่องพีซีแบบตั้งโต๊ะ และมีแผงแป้นพิมพ์และจอภาพติดกับตัวเครื่องรวมทั้งมีแบตเตอรี่ภายในเครื่อง จึงสามารถทำงานได้ในช่วงเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องใช้ไฟบ้าน เหมาะกับงานส่วนบุคคลและงานสำนักงานที่จำเป็นต้องออกนอกสถานที่

นอกจากโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ที่เห็นและใช้งานกันทั่วไปแล้ว ยังมีคอมพิวเตอร์พกพาที่เริ่มได้ รับความนิยมมากขึ้น นั้นคือ Tablet PC ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดกำลังเหมาะ น้ำหนักเบา หมุนได้ 180 องศา มีทั้งแบบมีแป้นพิมพ์ในตัว และแบบไม่มีแป้นพิมพ์ในตัวแต่มีแป้นพิมพ์แยกต่างหาก การรับข้อมูล (Input) สามารถใช้ทั้งแบบสัมผัสและใช้ปากกาชนิดพิเศษ(Stylus)เขียนแบบจอภาพได้ หรือแม้กระทั้งเสียงพูด ระบบเชื่อมต่อเครือข่ายทั้งแบบแลง (LAN) และแบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN)

               

6. คอมพิวเตอร์ฝ่ามือ (Hand-held Personal Computer) หรือเครื่องพีซีขนาดมือถือ หรือเครื่องพีดีเอ(Personal Digital Assistant-PDA) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับเครื่องคิดเลขขนาดเล็ก น้ำหนักเบามาก จึงสามารถวางบนฝ่ามือได้โดยมีสมรรถนะในการทำงานเฉพาะกับโปรแกรมสำหรับงานส่วนบุคคล เช่น การรับส่งอีเมล์ การบันทึกตารางนัดหมาย และการเข้าถึงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เครื่อง PDA

(Personal Digital Assistant) บางครั้งก็ เรียกว่า Pen-based Computer เนื่องจากเป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ใช้ปากกาที่เรียกว่า สไตลัส (Stylus) เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล ในบางครั้งก็จะใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลด้วยลายมือลงบนหน้าจอ และในบางครั้งอาจจะใช้ปากกานี้สำหรับเป็นอุปกรณ์เพื่อเลือกการทำงานบนจอภาพ ซึ่ง Personal Digital Assistant ในปัจจุบันนอกจากจะทำหน้าที่พื้นฐานทั่วไปแล้วยังสามารถรับ-ส่งอีเมล์ และส่งโทรสาร (Fax) ได้ด้วย



7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) หรือไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมากที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ชนิดพิเศษเพื่อฝัง (Embed) ไว้ในอุปกรณ์ประเภทต่างๆ เช่น บัตรสมาร์ทการ์ด (Smart Card ) โทรศัพท์มือถือ ตู้เย็น เตาไมโครเวฟ และรถยนต์ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มคุณลักษณะและความสามารถพิเศษบางประการ เช่น การเก็บข้อมูลส่วนบุคคล การให้บริการด้านบันเทิง การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การควบคุมเรื่องเวลาและอุณหภูมิ และการให้ข้อมูลเพื่อช่วยในการเดินทาง เป็นต้นอ้างอิง

ประวัติส่วนตัว ด.ญ.ฐิติชานันท์ ยังสวัสดิ์ เลขที่29


ชื่อ ด.ช.ณัฐดนัย ภู่กระโทก
อายุ 14ปี
วัน/เดือน/ปีเกิด 28 พฤษจิกายน 2547
โรงเรียน พูลเจริญ วิทยาคม
ที่อยู่ บ้านเอื้อบางโฉลง จ.สมุทรปราการ อ.บางพลี ต.บางโฉลง
คำคม ขยันวันนี้สบายวันหน้า

กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยด.ญชนิตสิรี โรจน์สว่าง ม.3/6 เลขที่39

กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันเป็น   กระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลัก คือ หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input) หน่วยความจำ (Memory หน่วยประมวลผลข้อมูล (Process) และหน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output) ซึ่งมีกระบวนการขั้นตอนการทำงานดังนี้

บทความเรื่องความรู้การทำงานของคอมพิวเตอร์ โดย ด.ญ.วลัยลักษณ์ อะทะไชย ม.3/6 เลขที่45


               การทำงานของคอมพิวเตอร์💻 


     เครื่องคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ 

          1. รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรม ในที่นี้ หมายถึง ชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ส่วนข้อมูล อาจ   เป็น    ตัว เลขหรือตัวหนังสือก็ได้ ที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล 
           2. การประมวลผล หมายถึง การจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ 
เปรียบเทียบ วิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์ หรือ คณิตศาสตร์ โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น 
           3. แสดงผลลัพธ์  คือ การนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเสร็จเรียบร้อย แสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์ได้


อ้างอิงบทความ

บทความเรื่องการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดย ด.ญ.ภัทรวดี บุตรสอน ม3/6 เลขที่42

จากขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ทั้ง ๔ ขั้นตอน จะมีการทำงานประสานกัน โดยเริ่มจากการรับข้อมูลและคำสั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นข้อมูลและคำสั่งซึ่งอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและส่งไปจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว จากนั้นเมื่อมีคำสั่งให้ประมวลผล ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บชั่วคราวจะถูกส่งไปประมวลผล เป็นผลลัพธ์หรือสารสนเทศ ซึ่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศจะถูกส่งไปแสดงผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ และหากต้องการเก็บผลลัพธ์ไว้ใช้ในภายหลัง ผลลัพธ์จะถูกนำไปจัดเก็บ สำหรับการเรียกใช้ได้อย่างถาวร การทำงานทั้ง ๔ ขั้นตอนดังกล่าว เรียกว่า วงจรการทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ (IPOS cycle)

อ้างอิงจาก
                

ประวัติคอมพิวเตอร์ โดย ด.ช มิ่งประชา มดแสง ม.3/6 เลขที่36

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์              คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจยากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซ...