Saturday, August 31, 2019

ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการบิน ด.ช. ธันวา กองสมบูรณ์ เลขที่11

                   เทคโนโลยีสารสนเทศการบิน






เทคโนโลยีกำลังจะพลิกโฉมหน้าสนามบินทั่วโลกให้กลายเป็น สนามบินอัจฉริยะ

ระบบจดจำใบหน้าแบบ End-to-End และระบบจอแสดงข้อมูลเที่ยวบินแบบครบวงจรเตรียมพลิกโฉมอุตสาหกรรมการบิน แนวโน้มด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาสารสนเทศในการก่อสร้าง สนามบินอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยทำให้ลูกค้าในภาคอุตสาหกรรมนี้สามารถสร้างสนามบินอัจฉริยะที่เป็นมิตรกับผู้โดยสาร และส่งมอบวิธีการใหม่ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบดิจิทัลให้กับสนามบินทั่วโลก
ทุกอย่างเช็คได้จากใบหน้า
ระบบจดจำใบหน้าแบบ End-to-End ช่วยให้ผู้โดยสารได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น
ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ AI และการจดจำใบหน้า ผู้บริโภคจึงมีความต้องการการเดินทางด้วยระบบอัจฉริยะมากขึ้น สนามบินต่างๆจึงเผชิญกับความท้าทายอันยิ่งใหญ่เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วทางธุรกิจ การเดินทางทางอากาศจึงเป็นสิ่งที่แพร่หลายในวงกว้าง และมีความต้องการอันหลากหลายมากขึ้นในส่วนของผู้โดยสาร หัวเว่ยมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงแรงกดดันต่ออุตสาหกรรมนี้ จึงได้นำเสนอโซลูชั่นสนามบินอัจฉริยะแบบครบวงจรที่จะช่วยตอบสนองกับความต้องการต่างๆเซลูชั่น Smart VIP Lounge Solution มอบบริการคุณภาพสูงให้แก่กลุ่มผู้โดยสารที่เป็นเป้าหมายบนพื้นฐานของเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า ระบบกล้องวงจรปิดที่มีภาพคมชัดแบบ HD, ฐานข้อมูลภาพใบหน้า และอัลกอริทึมการจดจำใบหน้าของหัวเว่ย ผนวกกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ของซูเปอร์แมพ (SuperMap) ถูกนำมาใช้ในการระบุ หาตำแหน่ง และติดตามผู้โดยสารที่อยู่ในห้องบริการผู้โดยสารสนามบิน เทคโนโลยีนี้ทำให้สามารถส่งระบบเตือนให้ขึ้นเครื่องบินแก่ผู้โดยสารแต่ละราย ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารได้รับบริการในห้องบริการผู้โดยสารและประสบการณ์การเดินทางที่ดีที่สุด
ปฏิวัติระบบจอแสดงข้อมูลเที่ยวบิน
ขณะที่ระบบจอแสดงข้อมูลเที่ยวบิน (FIDS) แบบเดิมเป็นจอแสดงเที่ยวบินแบบหนึ่งต่อกลุ่มที่ได้รับการออกแบบเพื่อให้บริการผู้โดยสารทั้งหมดในเวลาพร้อมกัน ผู้โดยสารต้องหาข้อมูลเที่ยวบินของตนเองจากจำนวนเที่ยวบินมากมายที่ปรากฏขึ้นมา ซึ่งทำให้เสียเวลา ดังนั้น เพื่อจัดการกับขั้นตอนที่ใช้เวลามากมายเหล่านี้ หัวเว่ยจึงจัดระบบ FIDS แบบอัจฉริยะด้วยระบบการจดจำใบหน้า ผู้โดยสารเพียงแค่ให้จอภาพสแกนใบหน้าของตนเอง ระบบ FIDS อัจฉริยะก็จะระบุว่าผู้โดยสารคือใคร จากนั้น จอภาพก็จะแสดงข้อมูลเที่ยวบิน และตำแหน่งปัจจุบันของผู้โดยสาร รวมทั้งแจ้งเส้นทางที่เร็วที่สุดที่จะไปยังประตูขึ้นเครื่อง ระบบนี้จะทำให้ประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ผู้โดยสารของสนามบินดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การแสดงข้อมูลกิจกรรมสนับสนุนเที่ยวบินแบบครบถ้วนช่วยปรับปรุงการดำเนินงานของสนามบินให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ใช้บิ๊กดาต้าบริหารหลุมจอด
แพลตฟอร์มบิ๊ก ดาต้า ที่อยู่ในระบบคลาวด์ของหัวเว่ย และอัลกอริทึมระบบอัจฉริยะของไป่ตู้ถูกนำมาใช้สนับสนุนระบบจัดสรรหลุมจอดแบบอัตโนมัติและแบบอัจฉริยะ ทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานดีขึ้น และช่วยลดความขัดแย้งในการจัดสรรหลุมจอด โซลูชั่นนี้ยังช่วยทำให้การจัดสรรหลุมจอดให้แก่เที่ยวบินกว่า 1,000 เที่ยวเสร็จสมบูรณ์ได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ขณะที่วิธีการเดิมต้องใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง ด้วยการปรับปรุงข้อมูลการจัดสรรหลุมจอดแบบพลวัต สะพานเทียบเครื่องบิน และหลุมจอดระยะใกล้ที่มีอยู่จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่เพื่อช่วยให้ผู้โดยสารไม่มีปัญหาในการขึ้นรถชัตเติลบัสเพื่อไปยังหลุมจอดที่อยู่ไกล นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นแล้ว โซลูชั่นนี้ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการจัดการกับเหตุฉุกเฉินของสนามบิน เมื่อเกิดความล่าช้าของเที่ยวบินจำนวนมากจนทำให้ต้องมีการจัดสรรหลุมจอดเครื่องบินใหม่อย่างรวดเร็ว
ระบบไฟส่องสว่างของสนามบิน
โซลูชั่นระบบไฟส่องสว่างสนามบินแบบอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยี IoT ยังช่วยแก้ไขปัญหาไฟสนามบินแบบเดิมที่ไม่สามารถเฝ้าสังเกต และควบคุมแบบเรียลไทม์ได้ โซลูชั่นของหัวเว่ยนี้ช่วยลดต้นทุนการตรวจสอบด้วยมือได้กว่า 10,000 ชั่วโมงแรงงานต่อปี โซลูชั่นนี้ เมื่อใช้ร่วมกับ Advanced-Surface Movement Guidance and Control System (A-SMGCS) และระบบเฝ้าระวังไฟฟ้าแบบเดียวของสถาบันวิจัย Second Research Institute ของ CAAC จะช่วยเป็นแนวทางในการนำเครื่องบินโดยใช้ไฟส่องสว่างลานบินแบบที่มีการเฝ้าระวังด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของเครื่องบินบนรันเวย์ และแท็กซี่เวย์
อ้างอินบทความ


No comments:

Post a Comment

ประวัติคอมพิวเตอร์ โดย ด.ช มิ่งประชา มดแสง ม.3/6 เลขที่36

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์              คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจยากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซ...